งูกัด
เขี้ยวงูเป็นโพรงติดต่อกับท่อน้ำพิษ ต่อมน้ำพิษของงูเจริญเปลี่ยนแปลงมาจากต่อมน้ำลาย
พิษมากหรือน้อยต้องแล้วแต่ชนิดของงู เขี้ยวงูอาจอยู่ด้านหน้าหรือตอนสุดของมุมปาก
ท่อน้ำพิษมาจากต่อมน้ำพิษมาเปิดที่เขี้ยว เวลางูกัดต่อมน้ำพิษจะขับน้ำพิษออกมา
สู่บาดแผลที่งูกัด งูกัดครั้งแรกจะมีพิษมาก แต่ครั้งหลังจะมีน้อยลงไปทุกที
การปฐมพยาบาล ให้ปฏิบัติดังนี้
1.) ให้ตรวจดูที่รอยเขี้ยวงู แล้วใช้เชือกหรือผ้า รัดตอนเหนือแผลนั้น เพื่อกันไม่ให้พิษซึม
เข้ากระแสโลหิตได้
2.) ใช้ปากสะอาดดูดที่บาดแผลแล้วบ้วนทิ้ง เพื่อเป็นการดูดเอาพิษออกจากบาดแผล
นั้น ใช้เวลาดูดประมาณ 1 ชั่วโมง
3.) ล้างบาดแผลด้วยด่างทับทิมแก่ ๆ หรือใช้เกล็ดด่างทับทิมยัดแผลนั้น
4.) ใช้ยาบำรุงหัวใจ หรือยาเพิ่มความดันโลหิต
5.) รีบนำตัวส่งแพทย์ทันที ถ้าหากมีเซรุ่มให้ฉีดทันทีเพื่อทำลายพิษงู หากสามารถจับงูตัวที่
กัดได้จะเป็นประโยชน์มาก เพราะจะได้ฉีดเซรุ่มชนิดเดียวกัน

งูกัด ข้อมูลจาก http://www.navy.mi.th/
ในโลกมีงูประมาณ 2500 ชนิด ในจำนวนนี้ราว 200 ชนิด มีพิษร้ายต่อคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีงูชุกชุมทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ สภากาชาดไทยได้สร้างสวนงูขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นสวนงูแห่งที่สองของโลก (แห่งแรกอยู่ในประเทศบราซิล) เพื่อเลี้ยงงูพิษสำหรับเก็บพิษใช้ในการผลิตเซรุ่มรักษาผู้ถูก งูพิษกัด

ธรรมชาติของงูจะกินสัตว์เป็นอาหาร เช่น งูจงอาจชอบกินงูเป็น ๆ งูน้ำกินปลา งูอื่น ๆ กินหนู กบ แมลง ฯลฯ งูจะกินสัตว์ที่มันฆ่าเองใหม่ ๆ เท่านั้น งูลอกคราบเป็นระยะ ๆ เกือบจะทุกเดือนในระยะต้น ๆ และค่อย ๆ ห่างลงในระยะต่อไป ภายหลังลอกคราบแล้วงูจะว่องไวขึ้น งูบางชนิดสืบพันธุ์โดยการออกไข่ บางชนิดออกมาเป็นตัวเลย

งูพิษมีเขี้ยว 2 เขี้ยว ที่ขากรรไกรบนด้านหน้า เขี้ยวแต่ละอันมีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูกัดพิษงู (Venoms) จะถูกขับออกจากต่อมไหลเข้าไปในแผลทางรอยเขี้ยว


ภาพที่ 32 แสดงภาพ
งูที่ไม่มีพิษ มีฟันแต่ไม่มีเขี้ยว

ภาพที่ 33 แสดงภาพ
งูที่มีพิษ มีเขี้ยว 2 อัน ที่ขากรรไกรบน

ด้านหน้า

ภาพที่ 34 แสดงบาดแผลที่ถูกงูกัด ภาพซ้าB จากงูที่มีพิษกัด จุดดำเข้มสองจุดบนสุด แสดงถึงรอยเขี้ยวของงูจุดดำเล็ก ๆ รวมเป็นวงกลมใต้จุดดำเข้มแสดงถึงพิษของงูซึ่งเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนังผู้ป่วย ทั้งนี้เพราะเขี้ยวงูเป็นภาพโค้ง ภาพขวา เป็นลักษณะบาดแผลจากงูที่ไม่มีพิษกัด

ชนิดของงูพิษ

1.) งูประเภทมีพิษต่อระบบประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม

2.) งูประเภทมีพิษต่อโลหิต เช่น งูกะปะ งูแมวแซว งูเขียวหางไหม้

3.) งูทะเล มีพิษต่อกล้ามเนื้อ

1.) งูประเภทมีพิษต่อระบบประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม บริเวณที่ถูกกัดจะปวดและบวมเล็กน้อย ชาตรงที่ถูกกัด และค่อย ๆ ลามไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ลืมตาไม่ขึ้น พูดจาอ้อแอ้ กลืนลำบากและหายใจไม่สะดวกในที่สุดจะเป็นอัมพาตทั่วร่างกายและตายเพราะระบบการหายใจหยุดทำงาน

2.) งูประเภทมีพิษต่อโลหิต เช่น งูกะปะ งูแมวแซว งูเขียวหางไหม้ บริเวณที่ถูกกัดจะปวดและบวมมาก (ราว 75 % ของบาดแผลจะบวมขึ้นภายใน 12 ชั่วโมงหลังจากถูกกัด) ผิวหนังจะเปลี่ยนสี หนังเป็นเม็ดพอง มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึมตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจมีเลือดออกมาตามผิวหนัง มีจ้ำเลือด ไอเป็นเลือด เลือดออกจากเหงือก เลือดกำเดาไหล หรืออุจจาระปัสสาวะเป็นเลือด คนไข้จะเพลียลง แต่ไม่มีอาการอัมพาต และจะตายเพราะหัวใจวาย

3.) งูทะเล เป็นงูประเภทมีพิษต่อกล้ามเนื้อ (Myotoxic) งูทะเลเกือบทุกชนิดถือเป็นงูพิษ พิษงูทะเลกล่าวกันว่ามีความรุนแรงมากกว่าพิษของงูเห่าบกถึง 50 เท่า แต่เนื่องด้วยการเจริญเติบโตของต่อมน้ำพิษของงูทะเลไม่ดีเท่ากับงูบก ดังนั้นพิษงูทะเลทั่ว ๆ ไป จึงไม่รุนแรงเท่าที่ควร แต่ก็สามารถทำอันตรายได้มากแก่ผู้ที่ถูกกัด ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมประเทศไทยนั้นนับว่าเป็นแหล่งที่มีงูทะเลชุกชุม มากที่สุดในโลก งูทะเลส่วนมากชอบอาศัยตามสถานที่ที่เป็นอ่าวปิด บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำเค็มต่อน้ำจืด (น้ำกร่อย) และพบงูทะเลจำนวนไม่น้อยตามน้ำเข้ามาในแม่น้ำ ในบางฤดู (เช่น พฤศจิกายน - ธันวาคม)

เมื่อถูกงูทะเลกัดใหม่ ๆ จะไม่มีอาการปวด (ถ้าถูกกัดและปวดทันที ให้สงสัยว่าถูกปลาที่เป็นพิษ หรือจากเงี่ยงปลายัก) แต่เมื่อหลังจากถูกงูทะเลกัดแล้ว ราว 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ และเคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้ (Muscle stiffness) ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตบางส่วน ขากรรไกรจะเกร็ง และตายได้เนื่องจากภาวะการหายใจล้ม และไตหยุดทำงาน (Respiratory failure, Renal failure)

ฉะนั้น ถ้าหลังจากถูกงูทะเลกัดแล้ว 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ยังเคลื่อนไหวแขนขาได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวด แสดงว่าพิษงูเข้าร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การปฐมพยาบาล

1.) ใช้สายรัด (Tourniquet) เช่น สายยางหรือเชือกรัดเหนือแผลประมาณ 5-10 ซม. รัดให้ตึงขนาดที่นิ้วก้อยพอสอดเข้าในสายรัดทูนิเกต์ได้ด้วยความลำบาก และควรคลายสายรัดทุก ๆ 30 นาที นานครึ่งถึง 1 นาที และรัดแล้วคลายเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะได้รับการฉีดเซรุ่ม การรัดนี้เพียงเพื่อกันพิษงูที่จะผ่านไปทางเส้นเลือดดำและทางท่อน้ำเหลืองเท่านั้น แต่ไม่ต้องการรัดเส้นเลือดแดง จึงให้รัดแน่นพอสมควรเท่านั้น ถ้ารัดจนปลายมือหรือปลายเท้าชาแสดงว่าแน่นเกินไป (ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องใช้สายรัด ให้ใช้ elastic bandage พันตรงบริเวณที่ถูกงูกัดตั้งแต่เหนือแผลจนถึงใต้แผลเล็กน้อยให้แน่นพอควรแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล)

3.) ให้บริเวณส่วนที่ถูกงูกัดอยู่นิ่ง (immobilization) การอยู่นิ่งนี้ได้พิสูจน์ในห้องทดลองแล้วว่าสามารถช่วยให้พิษงูกระจายได้น้อยลง

3.) อย่าดื่มเหล้า เพราะจะทำให้พิษงูกระจายไปรวดเร็ว และอย่าฉีดมอร์ฟีนให้ผู้ป่วยเพราะมีผลช่วยส่งเสริมพิษงู

4.) ไปหาแพทย์ เพื่อ

หมายเหตุ การกรีดแผลและการดูดพิษงูยังเป็นที่ถกเถียงกันมากว่าควรทำหรือไม่และถ้าทำโดยไม่สะอาด และไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดโทษได้มากและไม่ได้ผลเท่าที่ควร

มีเอกสารหลายฉบับที่แนะนำว่า การกรีดแผลมีประโยชน์ถ้าทำภายใน 1 ชั่วโมงแรก โดยใช้มีดที่ปราศจากเชื้อ เช่น ใบมีดโกนสะอาด และเผาไฟจนร้อนแดงแล้ว กรีดเป็นสองแนวขนานกับบริเวณเขี้ยวงู ทั้งสองกรีดยาว 0.3-0.6 ซม. และลึกประมาณ 0.3-0.6 ซม. และใช้เครื่องดูด (Suction) ดูดเป็นเวลานานราว 30-60 นาที จึงจะได้ผลดี

ถ้าไม่มีเครื่องดูด อาจใช้ปากที่ไม่มีแผลดูดได้ (ถ้าปากมีแผลหรือปากแตก หรือเวลาสีฟันเลือดออกง่าย ห้ามดูดพิษงูโดยใช้ปาก)

การกรีดแผลโดยไม่ได้ใช้วิธีดูดเป็นเวลานานจะได้ผลน้อยมาก แต่ถ้าเป็นงูทะเลการกรีดแผลเกือบไม่มีประโยชน์เลย

เซรุ่มแก้พิษงู

การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู จะได้ผลดีมากถ้าฉีดภายใน 4 ชั่วโมงแรก ถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ผลที่ได้จะน้อยลงมาก แต่อย่างไรก็ตามถ้าคนไข้ยังมีอาการอยู่ก็ฉีดได้

การให้เซรุ่มในรายที่มีอาการน้อย ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่ในรายที่มีอาการมากให้ฉีดเข้าเส้นโลหิต โดยเจือจางในน้ำกลูโคส 5%

การให้เซรุ่มจะต้องเลือกให้ตรงกับชนิดงูที่กัดจึงจะได้ผลเต็มที่ เช่นถูกงูเห่ากัดก็ต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูเห่าเท่านั้นจึงจะได้ผลดี ถ้าไปให้เซรุ่มแก้พิษงูสามเหลี่ยม (แม้จะเป็นงูประเภทพิษต่อระบบประสาทด้วยกัน) แก่คนที่ถูกงูเห่ากัดก็จะไม่ได้ผล

เซรุ่มแก้พิษงูที่ผลิตจากสถานเสาวภา มี 6 ชนิด คือ เซรุ่มแก้พิษงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ สำหรับเซรุ่มแก้พิษงูทะเลไม่มี

งูพิษที่มีชุกชุมในประเทศไทย

1.) งูเห่า ในภาคกลาง ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครนายก อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครปฐม

2.) งูจงอาง นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ นครศรีธรรมราช

3.) งูสามเหลี่ยม เขตธนบุรี นครปฐม นนทบุรี อยุธยา นครนายก อ่างทอง สระบุรี

4.) งูแมวเซา เขตธนบุรี สมุทรปราการ สระบุรี ลพบุรี อยุธยา อ่างทอง

5.) งูกะปะ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดภาคใต้ทั่วไป

6.) งูเขียวหางไหม้ กรุงเทพมหานคร